เมนู

ย่อมละความพอใจในกาย ความเยื่อใยในกาย ความอยู่ในอำนาจของกายใน
กายได้.

เวทนา 3


[273] อัคคิเวสสนะ เวทนา 3 อย่างนี้ คือ สุขเวทนา 1 ทุกข-
เวทนา 1 อทุกขมสุขเวทนา 1 อัคคิเวสสนะ ในสมัยใดได้เสวยสุขเวทนา ใน
สมัยนั้นไม่ได้เสวยทุกขเวทนา ไม่ได้เสวยอทุกขมสุขเวทนา ได้เสวยแต่สุข
เวทนาเท่านั้น, ในสมัยใดได้เสวยทุกขเวทนา ในสมัยนั้นไม่ได้เสวยสุขเวทนา
ไม่ได้เสวยอทุกขมสุขเวทนา ได้เสวยแต่ทุกขเวทนาเท่านั้น, ในสมัยใดได้เสวย
อทุกขมสุขเวทนา ในสมัยนั้นไม่ได้เสวยสุขเวทนา ไม่ได้เสวยทุกขเวทนา ได้
เสวยแต่อทุกขมสุขเวทนาเท่านั้น. อัคคิเวสสนะ สุขเวทนาไม่เที่ยง อันปัจจัย
ปรุงแต่งขึ้น อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไป
เป็นธรรมดา แม้ทุกขเวทนาก็ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งขึ้น อาศัยปัจจัยเกิด
ขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไปเป็นธรรมดา แม้อทุกขมสุขเวทนา
ก็ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งขึ้น อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป
คลายไป ดับไปเป็นธรรมดา. อัคคิเวสสนะ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เมื่อ
เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมหน่ายทั้งในสุขเวทนา ทั้งในทุกขเวทนา ทั้งในอทุกขมสุข-
เวทนา เมื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น
เมื่อหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหม-
จรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี
อัคคิเวสสนะ ภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วอย่างนี้แล ย่อมไม่วิวาทแก่งแย่งกับ
ใคร ๆ
โวหารใดที่ชาวโลกพูดกัน ก็พูดไปตามโวหารนั้น แต่ไม่ยึดมั่นด้วย
ทิฏฐิ.

[274] ก็โดยสมัยนั้น ท่านพระสารีบุตรนั่งถวายอยู่งานพัด ณ เบื้อง-
พระปฤษฎางค์พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้มีความดำริว่า ได้ยินว่า พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าตรัสการละธรรมเหล่านั้นด้วยปัญญาอันยิ่งแก่เราทั้งหลาย ได้ยินว่า
พระสุคตตรัสการสละคืนธรรมเหล่านั้นด้วยปัญญาอันยิ่งแก่เราทั้งหลาย เมื่อ
ท่านพระสารีบุตรเห็นตระหนักดังนี้ จิตก็หลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะ
ไม่ถือมั่น.
ธรรมจักษุปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแล้วแก่ทีฆนข-
ปริพาชกว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับ
ไปเป็นธรรมดา.

ทีฆนขปริพาชกแสดงตนเป็นอุบาสก


[275] ลำดับนั้น ทีฆนขปริพาชกมีธรรมอันเห็นแล้ว มีธรรม
อันถึงแล้ว มีธรรมอันทราบแล้ว มีธรรมอันหยั่งลงแล้ว ข้ามความสงสัยได้
แล้ว ปราศจากความเคลือบแคลง ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อต่อ
ผู้อื่นในคำสอนของพระศาสดา ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่ท่าน
พระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของ
พระองค์แจ่มแจ้งนัก เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอก
ทางให้แก่คนหลงทาง หรือตามประทีปในที่มืด ด้วยคิดว่า ผู้มีจักษุจักเห็น
รูป ดังนี้ ฉันใด ท่านพระโคดมทรงประกาศธรรม โดยอเนกปริยาย ฉันนั้น
เหมือนกัน ข้าพระองค์ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า พระธรรม และพระภิกษุ-
สงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึง
สรณะ ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอด
ชีวิต ทั้งแต่วันนี้เป็นต้น ไป ดังนี้แล.

จบทีฆนขสูตรที่ 4